วันแรก |
11.00 น. |
พร้อมกัน ณ จุดนัดพบ และออกเดินทางไปยังจังหวัดกาญจนบุรี |
12.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 น. |
ออกเดินทางต่อไปยังจังหวัดกาญจนบุรี |
14.30 น. |
แวะไหว้ศาลหลักเมืองกาญจนบุรีเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมชมกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดที่อยู่ด้านหลังของศาลหลักเมือง และเดินลัดเลาะเที่ยวบริเวณชุมชนปากแพรก ชุมชนเก่าแก่ที่สุดของเมืองกาญจนบุรีที่ยังหลงเหลือเสน่ห์และความสวยงามของอาคารบ้านเรือนให้ได้เห็นและสัมผัส |
15.00 น. |
ออกเดินทางไปยังชุมชนตำบลหนองโรง อ. พนมทวน |
15.30 น. |
เดินทางถึงชุมชน ทำความรู้จักกับตัวแทนของชุมชน และเก็บสัมภาระเข้าบ้านพัก |
18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านพักโฮมสเตย์ พักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่สอง |
07.00 น. |
ตื่นเช้า เรียนรู้วิถีชาวพุทธด้วยการร่วมทำบุญที่วัดกับเจ้าของบ้าน ณ วัดห้วยสะพาน
วัดห้วยสะพานเป็นวัดเก่าสร้างสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โบสถ์เก่าของวัดมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม มีลวดลายปูนปั้นที่หน้าบันทั้งสองด้าน มีพระประธานนามว่าพระพุทธโคดม |
09.00 น. |
เรียนรู้เรื่องป่าชุมชนจากปราชญ์ชุมชน ที่จะพาเดินลัดเลาะเข้าไปศึกษาพื้นที่ของป่าที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษา เป็นทั้งแหล่งหาอาหาร และยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย จากนั้นเก็บเถาวัลย์ทองและต้นปอเต่าไห้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
- เรียนรู้การแปรรูปเถาวัลย์ทองถักเป็นแหวนและกำไลข้อมือจากปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ
- แวะไหว้พระและชมโบสถ์เก่าสมัยอยุธยา ณ วัดเขาจำศีล
|
12.30 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
14.00 น. |
เรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปอเต่าไห้ที่เก็บมาจากป่าของชุมชน มาแปรรูปเป็นพวงกุญแจหรือดอกไม้ประดับแจกัน ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสดใสให้กับชิ้นงาน |
16.00 น. |
พักผ่อนตามอัธยาศัย |
18.00 น. |
ร่วมเรียนรู้และลองลงมือทำอาหารเย็นเมนูพื้นบ้านร่วมกับเจ้าของบ้าน และรับประทานอาหารเย็น |
วันที่สาม |
08.00 น. |
รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักโฮมสเตย์ |
09.00 น. |
ดงตาล แหล่งเรียนรู้ป่าอีกแบบหนึ่งของชุมชนคือป่าตาลหรือดงตาล เป็นอีกอาชีพหนึ่งของคนในชุมชนตำบลหนองโรง ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องมีใจรักและมีความเชี่ยวชาญจึงจะสามารถปีนต้นตาลที่มีขนาดใหญ่และสูงได้ เราจะได้เรียนรู้กระบวนการปีนตาล ตัดตาล และการเตรียมลอนตาลสำหรับขาย
- เรียนรู้การดูลักษณะของตาลแต่ละลูก
- ชิมลอนตามสด ๆ จากดงตาล
- นำลอนตาลสดจากดงตาลไปแปรรูป
หมายเหตุ : กิจกรรมนี้จะจัดทำในช่วงฤดูกาลของตาลเท่านั้น (ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม) ในช่วงเวลาอื่นกิจกรรมจะเปลี่ยนเป็นเรียนรู้การแปรรูปจากจาวตาลและเมล็ดตาลแทน |
12.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 น. |
เรียนรู้การทำขนมตาล หนึ่งในผลผลิตที่สามารถแปรรูปได้จากตาล เรียนรู้การทำขนมตาลจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่กระบวนการแรกจนมาเป็นขนมตามสีเหลืองนวลที่เราเห็นตามท้องตลาด มาลงมือทำและลิ้มรสชาติหอม ๆ จากเตา |
15.00 น. |
ทำผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากตาล เป็นการนำชิ้นส่วนที่เหลือใช้หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ใยตาล ลูกตาล นำมาสร้างมูลค่าและเพิ่มรายได้ใช้กับชุมชน เช่น การทำกล่องใส่ปากกา ทำถ่านจากลูกตาล |
18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านพักโฮมสเตย์ |
วันที่สี่ |
08.00 น. |
รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักโฮมสเตย์ |
09.30 น. |
เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานเปลไม้ไผ่ ที่มีการประยุกต์จากการทำเสื่อ มาเป็นเปลไม้ไผ่ และมีการปรับลดขนาดของเปลตามความต้องการของตลาด ที่สามารถทำได้ทั้งเปลนอน พวงกุญแจ หรือตะกร้าใส่ผลไม้ เป็นต้น มาลองลงมือเรียนรู้และสานเปลไม้ไผ่จากปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะถ่ายทอดวิชาให้ได้ลองลงมือทำกัน |
12.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 น. |
เรียนรู้การทำแคบหมูไร้มัน หนึ่งในอาชีพที่เสริมรายได้ให้คนในชุมชนนอกเหนือจากการทำเกษตรกรรม มาลงมือเรียนรู้การทำแคบหมูจากผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนให้เราได้รู้จักขั้นตอนการทำตั้งแต่กระบวนการเลือกหนังหมู การทำความสะอาด ตลอดจนการหมัก และการทอดให้กรอบอร่อย |
15.00 น. |
เรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งคือ “การทำข้าวเกรียบ” โดยเฉพาะข้าวเกรียบสีรุ้ง ที่มีการใช้สีจากวัตถุดิบตามธรรมชาติในชุมชนมาใช้ให้เกิดสีสันต่าง ๆ และลดต้นทุนการผลิต แต่เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี มาลองเรียนรู้กรรมวิธีการทำจากผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะถ่ายทอดให้เราทราบทุกกระบวนการ รวมถึงลองลิ้มชิมรสข้าวเกรียบรุ้งและรสชาติอื่น ๆ |
18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านพัก |
วันที่ห้า |
08.00 น. |
รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักโฮมสเตย์ |
09.00 น. |
เยี่ยมชมสวนมาสุข เรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ไว้ในสวน เช่น มะละกอ ดีปรี มะม่วงหาวมะนาวโห่
- ทดลองทำน้ำดื่มจากลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ เรียนรู้ขั้นตอนการทำตั้งแต่การเลือกผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ จนถึงขั้นตอนการทำน้ำดื่ม และทดลองชิมน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่จากฝีมือเราเอง
|
12.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 น. |
เรียนรู้การทำงูงับขยับข้อ อุปกรณ์ช่วยผ่อนคลายอาการนิ้วล็อก ที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องประสบ เรียนรู้ขั้นตอนการสานและการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญ |
15.00 น. |
เรียนรู้การสานหมวกจากใบ (ทาง) มะพร้าว เป็นการนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า |
18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านพัก |
วันที่หก |
08.00 น. |
รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักโฮมสเตย์ |
09.00 น. |
อำลาชุมชนและเดินทางไปยังน้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นน้ำตกบนเทือกเขาหินปูน ทำให้น้ำมีสีฟ้าอมเขียวเมื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 7 ชั้น และมีระยะทางจากชั้นล่างสุดไปยังชั้นบนสุดทั้งสิ้น 1,500 เมตร และมีน้ำตลอดทั้งปี แต่จะมีน้ำน้อยช่วงฤดูแล้ง ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน ลำน้ำเมื่อตกลงมาจะไหลลงสู่แม่น้ำแควใหญ่บริเวณที่ทำการอุทยาน |
13.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน บริเวณอุทยาน |
14.00 น. |
เดินทางไปยังตัวเมืองกาญจนบุรี |
15.30 น. |
เดินทางเข้าเช็คอิน ณ โรงแรมที่พัก |
18.00 น. |
รับประทานอาหารเย็น และ พักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่เจ็ด |
08.00 น. |
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก |
09.30 น. |
แวะชมสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก หรือสุสานทหารสหประชาชาติ หรือที่ชาวกาญจนบุรีเรียกกันทั่วไปว่า ป่าช้าอังกฤษ |
10.00 น. |
ชมสะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โครงสร้างเป็นเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจรของทางรถไฟสายธนบุรี-น้ำตก หรือทางรถไฟสายมรณะในอดีต |
12.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 น. |
แวะชิมกาแฟก่อนเดินทางกลับ ณ มีนาคาเฟ่ คาเฟ่บรรยากาศสบาย ๆ พร้อมชิมกาแฟและสูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจี แวะเติมพลังก่อนเดินทางกลับ |
14.30 น. |
เดินทางกลับกรุงเทพฯ |
17.30 น. |
เดินทางถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ |